วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติของไดโนเสาร์(History of dinosaurs)


                         

ประวัติของไดโนเสาร์

           เมื่อหลายล้านปีก่อนโลกได้กำเนิดสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้นมาบนโลก มี หลายเผ่าหลายพันธุ์สาย ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร ต่างฝ่ายก็มีหลายเผ่าหลายพันธุ์สาย ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร ต่างฝ่ายก็ซึ่งต่างก็ได้รับสมญานามว่าเป็นนักล่า โดยเฉาะ ทีแร็กซ์ และแร็พเตอร์ นับว่าเป็นนักล่าในยุคจูลลาสสิค และฝ่ายหาอาหารจากพืชก็จะมีสิ่งป้องกันบางอย่างเพื่อเป็นเกราะคุ้มครองของตน เอง เช่นหนามที่แหลมคม พวกนี้จะไม่ทำอันตรายพวกอื่นก่อนถ้าไม่ถูกรบกวนหรือถูกรุกรานก่อน แต่แล้วสายพันธุ์ของไดโนเสาร์ก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะต้องเผชิญกับหายนะอันใหญ่ หลวงของโลกจากกลุ่มหินอุกกาบาตที่เข้าถล่มโลกอย่างบ้าคลั่ง ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องจบสิ้นลงไปด้วยเพราะไม่อาจทนความร้อนได้ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเขม่าและควันไฟที่โพยพุ่ง โลกเต็มไปด้วยความมืดมิดไม่มีแสงสว่าง และเป็นเช่นนั้นอยู่หลายปีและโลกเริ่มเย็นขึ้นๆเรื่อยๆ และต่อมาก็เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ เริ่มเข้ายุคใหม่ที่เริ่มก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตยุดใหม่เข้ามาแทนที่สัตว์ใหญ่ ที่เคยครองโลกอยู่คงเหลือแต่ซากเถ้ากระดูกและฟอสซิลให้เห็นมาจนตราบทุก วันนี้

                         

          ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil) คือ ซากหรือร่อง รอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก ประโยชน์ของฟอสซิล ฟอสซิลสามารถบอกให้เราทราบถึงชนิดรูปแบบและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วง ระยะเวลาทาง ธรณีวิทยารวมทั้งบ่งบอก สภาพแวดล้อมของ โลกในอดีตกาลอีกด้วยเนื่องจากในแต่ละช่วงระยะ เวลาทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น เฉพาะบางชนิดเท่านั้น จากการคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป(isotope)ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ(radioactive elements) ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ปี
(4.6 billion years) และแบ่งช่วง ระยะเวลาทางธรณีดังกล่าวออกเป็น บรมยุค(eon) มหายุค(era) ยุค (period) และ สมัย (epoch) ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินและสูญพันธุ์หมดสิ้นจากโลกนี้ เมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว ในปัจจุบันพบเพียงซากกระดูกส่วนต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่าฟอสซิลของไดโนเสาร์คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์ ที่ใหญ่โต มโหฬารหรือเป็นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์เช่นเดียวกับปลาวาฬ บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก แต่โดยความเป็นจริง ไดโนเสาร์มี ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่ขนาดใหญ่มหึมา น้ำหนักกว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต จนถึงพวกที่ขนาดเล็ก ๆ บางชนิดก็มีขนาดเล็กกว่าไก่ บางพวกเดินสี่ขา บางพวกก็เดินและวิ่งบนขาหลัง 2 ข้าง บางพวกกินแต่พืชเป็นอาหาร ในขณะที่อีกพวกหนึ่งกินเนื้อเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน


                         

        ไดโนเสาร์พวกแรก      ปรากฎขึ้นมาในโลกในช่วงตอนปลายของ  ยุคไทรแอสสิกเมื่อกว่า225ล้าน ปีมาแล้วเป็นเวลาที่ทวีปทั้งหลาย ยังต่อเป็นผืนเดียวกัน สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้มีชีวิตอยู่และมีวิวัฒนาการตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 160 ล้านปี กระจัด กระจายแพร่หลายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินในโลก แล้วจึงได้สูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุคครีเทชียสหรือเมื่อ 65 ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว ในขณะที่ต้นตระกูลของมนุษย์เพิ่งจะปรากฎในโลกเมื่อ 5 ล้านปีที่ผ่านมา หลังจาก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 60 ล้าน ปี ละเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นเพิ่งเริ่มต้นมาเมื่อไม่เกินหนึ่งแสนปีมา นี่เองมนุษย์มักจะคิดว่าไดโนเสาร์นั้นโง่และธรรมชาติสร้างมาไม่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม จึงทำให้มันต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด ความคิดนี้ไม่ถูก โดยแท้จริงแล้วไดโนเสาร์ได้เจริญแพร่หลายเป็น เวลายาวนานกว่า 30 เท่า ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในโลก ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไดโนเสาร์ได้มีวิวัฒนา การออกไปเป็นวงศ์สกุลต่าง ๆ กันมากมาย เท่าที่ค้นพบและจำแนกแล้วประมาณ 340 ชนิด และคาดว่า ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังรอคอยการค้นพบอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วโลก ทุกวันนี้ ทั่วโลกมีคณะสำรวจ ไดโนเสาร์อยู่ประมาณ 100 คณะทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ประมาณว่ามี การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้น1ชนิดในทุกสัปดาห์นักโบราณชีววิทยาแบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น2กลุ่มใหญ่โดยอาศัยความแตกต่างของกระดูกเชิงกรานคือ 

                         

          1. พวกซอริสเซียน (Saurischians) มีกระดูกเชิง กรานเป็นแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูก พิวบิส และอิสเชียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง
          2. พวกออรืนิธิสเชียน (Ornithiscians) มีกระดูก เชิงกรานเป็นแบบนก คือ กระดูกทั้งสอง (พิวบิสและอิสเชียม) ชี้ไปทางด้านหลัง ฟันของไดโนเสาร์ซอโรพอด พบจากแหล่งขุดค้นวัดสักกะวัน จ.กาฬสินธุ์ 


                         

   

สายพันธุ์

แจ็ก ฮอร์เนอร์ ซึ่งเป็นนักโบราณคดีและนักชีววิทยา รวมถึงนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้อย่างน่าฟัง ถึงเหตุผลที่ทำให้ไดโนเสาร์สามารถอยู่รอดได้ถึง 150 ล้านปี         แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใหญ่โตเหล่านั้น ก็สูญพันธุ์ไปสิ้นเมื่อ 65 ล้าน ปีที่แล้ว มีหลากหลายทฤษฏีที่ชี้แจงการสิ้นสุดของไดโนเสาร์ ทั้งทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ตลอดจนทฤษฎีดาวหางและอุกกาบาต แต่ดูเหมือนทฤษฎีหลังจะเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์และประชาชนทั่วไปแต่การสูญสิ้นของไดโนเสาร์นั้นยังไม่เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์มากนักเพราะต่าง พากันมุ่งประเด็นไปที่การดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ตรงที่ว่า ไดโนเสาร์มีอะไรดีจึงสามารถดำรง เผ่าพันธุ์ได้นานถึง 150 ล้านปี ยังเป็นปริศนาสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องหาข้อมูล จากซากดึกดำบรรพ์กันต่อไปคราวนี้เรามารู้จักกับไดโนเสาร์พันธุ์ต่าง ๆ ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ตัวแรกที่จะแนะนำให้รู้จักก็คือ
  • ไทแรนโนซอรัส (Tyrannosaurus rex)
  • อัลโลซอรัส (Allosaurus)
  • อะแพททอซอรัส (Aapatosarus)
  • ไทรเซอราทอปส์ (tricratops)
  • อิกัวโนดอน (Iguanodon)
  • เทอราโนดอน (pteranodon)
แม้เวลาจะผ่านไปถึง 65 ล้านปี คำว่า ไดโนเสาร์ ก็ยังถูกกล่าวถึงเสมอ ถึงแม้ว่ามันจะ เป็นสัตว์ที่น่าเกลียดน่ากลัว แต่ก็ยังไม่ร้ายเท่ามนุษย์ที่คอย แต่คิดค้นและสร้างสมแต่สิ่งที่นำ ไปสู่การทำลายตัวเองอยู่ตลอดเวลา และเมื่อใดที่โลกเต็มไปด้วยมลพิษที่เกินกว่ามนุษย์จะ ทนได้ ก็อาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด… ดังเช่น… ไดโนเสาร…์ สัตว์โลกล้านปี…ที่ถูกบันทึกไว้ใน ความทรงจำของมนุษย์ตราบจนทุก…วันนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไทแรนโนซอรัส
ไทแรนโนซอรัส (Tyrannosaurus rex) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าทีเร็กซ์ (Trex) แปลว่า กิ้งก่า ทรราชเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อเป็นอาหาร มีความยาวประมาณ 48 ฟุต สูงประมาณ 20 ฟุต ลักษณะเป็นแบบฉบับของไดโนเสาร์ หัวโต ตัวใหญ่ขาหน้าเล็กและสั้น มีกรงเล็บ แหลมคมยาวถึง 8 นิ้ว มีน้ำหนักถึง 7 ตันครึ่ง เจ้ากิ่งก่ามีชีวิตได้ด้วยการกินไดโนเสาร์ที่ อ่อนแอกว่าเป็นอาหาร เช่น ไดโนเสาร์ที่มีชื่อว่า แองคีลอซอรัส (Ankylosaurus) ฉายยายักษ์ สวมเกาะเป็นไดโนเสาร์ที่มีเกาะแข็งหุ้มตัวตัวยาวประมาณ 15 ฟุต สูงไม่เกิน 4-5 ฟุต ตัวอ้วน ขาใหญ่ เดินงุ่มง่ามหลบหลีกศัตรูได้ช้าเป็นอาหารโปรดของเจ้าทีเร็กซ์ ดังนั้นจึงได้อีก ฉายาหนึ่งว่า จอมเพชฌฆาต
อัลโลซอรัส (Allosaurus) ตัวนี้หน้าตาคล้าย ๆ กับ ทีเร็กซ์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาด ใหญ่ที่สุดมีขนาดยาวกว่า 33 ฟุต (10 เมตร) ขาหน้าเล็กสั้น หัวโต เขี้ยวใหญ่ได้ฉายาว่า จอมพราน ชอบล่าไดโนเสาร์อื่นเป็นอาหารโดยเฉพาะ อะแพททอซอรัส (Aapatosaaurus) เป็นอาหาร ที่กล่าวเช่นนี้เพราะอะแพททอซอรัสที่ขุดพบนั้นมีรอยเขี้ยวของ อัลโลซอรัส เต็ม ไปหมด
อะแพททอซอรัส (Aapatosarus) มีฉายาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง ถูกค้นพบในยุคแรกๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 มีลักษณะ คอยาว หัวเล็ก หางยาวมาก ๆ ประมาณ 24-27 เมตร ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว จึงได้ชื่อว่า อะแพททอซอรัสแปลว่า สัตว์เลื้อยคลานหัวหาย ที่สำคัญลักษณะเจ้านี้ประหลาดมากคือ มีหัวใจ 7-8 ดวง เรียงจาก อกถึงลำคอ เพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ ยังมีรูจมูกอยู่บนกระหม่อมชอบอยู่ในน้ำลึก พวกนี้มีฟันทื่อไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไร ไม่ได้นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น
ไทรเซอราทอปส์ (tricratops) มีฉายาว่า ยักษ์สามเขา ตัวไม่โตนัก ยาวประมาณ 20 ฟุต สูง 10 ฟุต มีขนาดใหญ่กว่าช้างเล็กน้อย ที่ต้นคอมีเกราะใหญ่แผ่คลุมคอและไหล่ ขากรรไกร โค้งเหมือนปากนกแก้ว ชอบเล็มหญ้าเป็นอาหารที่สะดุดตาที่สุด ของเจ้ายักษ์สาม เขานี้ก็คือ มีเขา 3 อัน ที่แหลมคมมากยาวประมาณ 3 ฟุต อยู่เหนือตาทั้งสองข้าง ส่วนอันที่ 3 ใหญ่กว่าแต่มีขนาดสั้นอยู่ตรงจมูก แต่ที่น่าแปลกกว่านั้นก็คือลักษณะดูเหมือนดุร้ายแต่กิน พืชเป็นอาหาร เขาของมันมีไว้สู้ศัตรูเท่านั้น
เทอราโนดอน เป็นไดโนเสาร์อีกชนิดหนึ่งที่มีหงอนแข็งที่หัว ขนาดของปีกกว้างมาก วัด ตามยาวได้ถึง 6 เมตร อาศัยอยู่ตามหน้าผาสูง มีน้ำหนักตัวประมาณ 17 กิโลกรัม เป็นสัตว์ เลื้อยคลานที่บินได้ โครงสร้างโดยทั่วไปมีลักษณะค่อนข้างไปทางไดโนเสาร์มากกว่านก ซึ่ง ถ้านำไปเทียบกับ อาร์คีออฟเทอริกซ์ และ โมโนไนคัส พวกนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับนกใน ปัจจุบันมากกว่า

ไดโนเสาร์สายพันธ์ุมีปีก

ในยุคแห่งไดโนเสาร์ที่ยาวนานนับร้อยล้านปี ณ.ช่วงเวลาที่เหล่าไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์ครอบครองทั่วผืนแผ่นดิน และสัตว์เลื้อยคลานอสูรสมุทรนานาชนิดปกครองผืนน้ำ บนท้องฟ้าของโลกยุคนั้น คือ อาณาจักรของสัตว์บินได้ที่น่าเกรงขามซึ่งครอบครองท้องฟ้ามาก่อนหน้าที่นกตัวแรกจะปรากฏขึ้น เทโรซอร์จัดเป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ซึ่งอยู่ร่วมยุคเดียวกันกับไดโนเสาร์และมีคนจำนวนมากที่มักจะเข้าใจผิด โดยเรียกพวกมันว่าไดโนเสาร์บิน แต่ในความจริงนั้น เทโรซอร์เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานบินได้ซึ่งถือเป็นคนละกลุ่มกับไดโนเสาร์
พวกเทโรซอร์มีปีกซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นหนังบางๆที่ยึดอยู่ระหว่างนิ้วทั้งสี่ที่ยืดยาวออกมา ซึ่งปีกลักษณะนี้เหมาะแก่การร่อนมากกว่าจะกระพือบินเหมือนอย่างนก นักวิทยาศาสตร์คิดว่า เทโรซอร์น่าจะลอยตัวอยู่บนท้องฟ้าได้โดยอาศัยอากาศร้อนช่วยพยุงปีกและลำตัว การที่พวกมันมีกระดูกกลวงและเบาทำให้ร่างกายของเทโรซอร์มีสภาพคล้ายกับเครื่องร่อน ทั้งนี้เทโรซอร์บางชนิดอาจจะมีขนบางๆ ปกคลุมร่างกายคล้ายกับค้างคาวด้วย
เควตซัลโคแอทลัตท์
เทโรซอร์สามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่ม คือ แรมโฟรินคอยด์ (Rhamphorhynchoids) และ เทอโรแดคทิลลอยด์ (Pterodactyloids) กลุ่มแรมโฟรินคอยด์ เป็นเทโรซอร์จำพวกแรกที่ปรากฏตัวขึ้นบนโลก พวกมันเริ่มปรากฏขึ้นมาตั้งแต่กลางยุคไทรแอสสิค ลักษณะร่วมของเทโรซอร์ในกลุ่มนี้คือ มีหางยาวและปีกแคบ พวกแรมโฟรินคอยด์มีขนาดตัวไม่ใหญ่นักขนาดโดยทั่วไปไม่โตไปกว่านกอินทรีตัวใหญ่ๆสักเท่าไร เทโรซอร์ในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ แรมโฟรินคัสที่มีจงอยปากเรียวแหลม กับ ดิมอร์โฟดอนที่มีจงอยปากใหญ่และฟันแหลมคมเรียงเป็นแนว
แรมโฟรินคัส
ดิมอร์โฟดอน
สำหรับเทโรซอร์ในกลุ่มเทอโรแดคทิลลอยด์นั้น มีวิวัฒนาการขึ้นมาในยุคจูราสสิค โดยพวกนี้จะมีลักษณะเด่นตรงหางสั้นและปีกกว้างซึ่งช่วยให้ควบคุมการบินร่อนได้ดีกว่าพวกแรมโฟรินคอยด์ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ยุคครีตาเชียส พวกเทอโรแดคทิลลอยด์ก็ได้เข้าแทนที่พวกแรมโฟรินคอยด์และได้กระจายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นเจ้าเวหาในยุคนี้ พวกเทอโรแดคทิลลอยด์มีชนิดพันธุ์ที่หลากหลายและขนาดที่แตกต่างกันไป โดยชนิดที่เล็กที่สุดอย่าง เทอโรแดคทิลลัส มีขนาดไม่โตไปกว่านกกระจอก ขณะที่พวกตัวใหญ่อย่าง ออนิโธไครัสและเทอราโนดอนนั้นจะมีขนาดพอๆกับเครื่องร่อน หรืออย่างเควตซัลโคแอทลัตท์ซึ่งจัดเป็นเทโรซอร์ที่ใหญ่ที่สุดนั้นอาจจะมีขนาดใหญ่เท่ากับเครื่องบินเล็กเลยทีเดียว
เทอโรแดคทิลลัส
ออนิโธไครัส
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า เทโรซอร์หลายชนิดอาจจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยอาหารหลักของสัตว์พวกนี้ก็คือปลาและแมลง ในขณะที่เทโรซอร์ขนาดใหญ่บางชนิดก็อาจจะล่าสัตว์ตัวเล็กๆ หรือกินซากที่พวกไดโนเสาร์นักล่าเหลือทิ้งไว้ เป็นอาหาร เช่นเดียวกับพฤติกรรมของนกแร้งในยุคปัจจุบัน
ฝูงเทอราโนดอน
ฝูงเควตซัลโคแอทลัตท์
นับแต่ปลายยุคจูราสสิคเป็นต้นมา เทโรซอร์หลายชนิดได้มีวิวัฒนาการจนมีลักษณะแปลกประหลาด อย่างเช่น พเทโรดัสโทรที่มีจงอยปากยาวโค้งคล้ายกับนกช้อนหอย หรืออย่าง ทาพีจารอ ที่มีหงอนขนาดใหญ่อยู่บนหัว โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่า หงอนของทาพีจารอ อาจมีประโยชน์ในการดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้ามแบบเดียวกับนกเงือกในปัจจุบัน
พเทโรดัสโทร
ทาพีจารอ
เทโรซอร์ครอบครองท้องฟ้าของโลกดึกดำบรรพ์โดยไร้ผู้เทียบเทียม จนกระทั่งมาถึงช่วงยุคจูราสสิคที่มีนก ชนิดแรกปรากฏขึ้นและได้กลายเป็นคู่แข่งของพวกมัน กระนั้นพวกนกก็ยังไม่อาจเอาชนะเหล่าเทโรซอร์ได้และพวกมันก็ยังคงครองความเป็นจ้าวเวหาเรื่อยมาจนถึงปลายยุคครีตาเชียส กระทั่งเมื่อเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เทโรซอร์ทั้งหลายก็ได้สูญพันธุ์ไปพร้อมกับไดโนเสาร์ และทิ้งท้องฟ้าไว้ให้เหล่านกครอบครอง

ไดโนเสาร์กินพืช

คามาราซอรัส (Camarasaurus)

วงศ์ คาเมราซอริเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอร์พา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 12-18 เมตร กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น




เคนโทรซอรัส (Kentrosaurus)

ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่าแหลมคม เพราะลำตัวส่วนหน้าของมันมีแผงกระดูอยู่ ส่วนจากหลังถึงหางของมันมีหนามแหลมคมอยู่ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนปลาย มันยาว 3-5 เมตร พบที่แอฟริกา อาวุธหลักของมันคือหนามยาวหนึ่งคู่ตรงหาง กินพืชเป็นอาหาร




แคมป์โทซอรัส
(Camptosaurus - กิ้งก่าหลังโค้ง) มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า
เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่ได้มีขนาดอาวุธป้องกันตัวครบเครื่องแบบสเตโกซอรัส หรือ มีขนาดใหญ่ร่างยักษ์อย่างซอโรพอด ฝีเท้าก็ไม่ว่องไวนักเนื่องจากน้ำหนักตัวที่หนักไป (จนต้องยืน 4 ขา ในบางเวลา) จึงมักกลายถูกล่าเป็นเหยื่อจากพวกไดโนเสาร์กินเนื้อในป่า จนกระทั่งมันเริ่มวิวัฒนาการไปเป็น ไดโนเสาร์ร่างใหญ่ติดอาวุธอย่างอิกัวโนดอน









โคริโทซอรัส (Corythosaurus)
เป็นไดโนเสาร์จำพวกแฮดโดรซอร์ อาศัยช่วงปลายยุคครีเตเซียส เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ขนาด 12 เมตร ริว เท ซูน ฟอสซิลของมันพบที่ทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อแปลว่ากิ้งก่ามงกุฏ ลักษณะปากของโคริโทซอรัสคล้ายกระสุนปืน สามารถกินหินได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว มันเป็นหนึ่งในเหยื่อ ที่โปรดปราณ ของ ไทรันโนซอรัส





ซัลตาซอรัส (Saltasaurus)

ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจากซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาดเล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 - 65 ล้านปี และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12 เมตร หนัก 7 ตัน
เช่นเดียวกับ ซอโรพอดจำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟันแท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะเด่นของมันและซอโรพอดยุคหลังอื่นๆคือ ผิวหนังมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้องกันลำตัวมันจากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อปีค.ศ.1980



ซิตตะโกซอรัส(Psittacosaurus)


หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น พบได้ในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า "ไดโนเสาร์นกแก้ว" หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน
ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า "ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี" เพื่อเป็นเกียรติแด่นเรศ สัตยารักษ์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลดังกล่าว



ไซคาเนีย (Saichania)

เป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าสวยงาม อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ตรงที่หางคล้ายมีกระบองติดอยู่ กระบองใช้เป็นอาวุธฟาดศัตรู สาเหตุที่มันได้ชื่อว่างดงามเป็นเพราะฟอสซิลของมันอยูในสภาพสมบูรณ์มาก ยาวประมาณ 7 เมตร กินพืชเป็นอาหาร ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1977




ไดพลอโดคัส (Diplodocus)


กิ้งก่าสันคู่ วงศ์ ดิพโพลโดซิเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอพา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลซอโรพอดเช่นเดียวกับ อะแพทโตซอรัสและ มีชื่อเสียงพอๆกัน ในด้านความยาวขนาดตัว ขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาว 25-27 เมตร( David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร[ต้องการอ้างอิง]) แต่หนักแค่ 10-12 ตัน ถือว่าเป็นซอโรพอดที่เบาที่สุด อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 150 - 147 ล้านปีก่อน
ไดพลอโดคัส เป็นสายพันธุ์ที่แยกประเภทได้ง่าย เนื่องจาก ลักษณะตามแบบไดโนเสาร์ ศีรษะขนาดเล็ก เตี้ย และเอียงลาด ตาลึก รูจมูกอยู่เหนือตา จมูกกว้าง คอและหางยาว ปลายแส้ที่หางยาวมากกว่า อะแพทโตซอรัส ขา 4 ข้างที่ใหญ่โตเหมือนเสา ลักษณะที่โดดเด่นคือ เงี่ยงกระดูกเป็นคู่ที่ยื่นโผล่ออกมาจากกระดูกสันหลังตั้งแต่หลังคอเรียงรายไปถึงหาง
หลายปีก่อน ไดพลอโดคัส เคยเป็น ไดโนเสาร์ที่ตัวยาวที่สุด ขนาดตัวมหึมาของมัน เป็นอุปสรรคระดับหนึ่งต่อนักล่า อย่าง อัลโลซอรัส พบที่อเมริกาเหนือ อยู่ในยุคจูราสสิคตอนปลาย



ทีนอนโตซอรัส (tenontosaurus) 

ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเอ็นกล้ามเนื้อ ที่ชื่อของมันมีความหมายแบบนี้เพราะมีเส้นเอ็นแข็งๆ ตั้งแต่หลังไปจนถึงหาง พบในยุคครีเทเซียสตอนต้น ฟอสซิลของมันค้นพบที่อเมริกาเหนือและแอฟริกา ขนาด 5 เมตร เวลายืนมันใช้ขาหลัง เวลาเดินมันจะใช้ขาทั้งหมด




ไททันโนซอรัส (Titanosaurus)

จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืชในกลุ่มซอโรพอด ลำตัวยาว 9-12 เมตร นำหนัก 13 ตัน เกิดในยุคครีเทเชียสตอนปลาย พบทางตอนใต้ของทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาใต้ ไททันโนซอรัส มีลำตัวขนาดใหญ่ คอยาวหนา หางยาว เดิน 4 ขา เชื่องช้า มักอาศัยอยู่รวม - กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร สมองขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว




ไทรเซอราทอปส์ (triceratops)

เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซอราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว6-8ตันและยาวได้กว่า6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซอราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซอราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซอราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะกลับกัน ไทรเซอราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง500กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆกับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้เจ้า3เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วย ไทรเซอราทอปส์มีชื่อเต็มว่าไทรเซอราทอปส์ ฮอริดัส ฟอสซิลของไทรเซอราทอปส์ตัวแรกพบโดยมารช์คู่แข็งของโคป ในสงครามกระดูกไดโนเสาร์




เทอริสิโนซอรัส (Therizinosaurus) 

เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดชนิดหนึ่ง โดยสายพันธุ์นี้จะไม่กินเนื้อ แต่จะกินพืช มันกินพืชเพราะลักษณะของฟันมัน ทำให้เทอริสิโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่กินพืช เทอริสิโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ 72-68 ล้านปีก่อน ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศจีน มองโกเลีย และตะวันออกกลางลักษณะเฉเพาะของเทอริสิโนซอรัสที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่ามันกินเนื้อคือ มันเล็บที่ยาวกว่า 70 เซนติเมตร และเดินสองขาเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อ ทำให้ตอนแรกมันถูกคิดว่าเป็นพวกกินเนื้อ แต่ในปัจจุบัน มันจัดอยู่ในไดโนเสาร์กินพืช เนื่องจากลักษณะฟันที่เป็นซี่เล็กๆเรียงกัน ใช้ไม่ได้กับการกัด หรือเคี้ยวเหนือ ส่วนเล็บที่มันมีก็ไม่เหมาะกับการฉีกเหยื่อ เพราะเบาะบางเกินไป ดังนั้นเล็บที่ยาว 70 เซนติเมตรของมัน จึงใช้ในการตัดใบไม้ลงมาจากต้น หรือป้องกันตัวโดยการขู่เท่านั้น นอกจากมันจะมีลักษณะเฉเพาะคือเล็บของมันแล้ว มันยังมีขาหน้าที่ยาว 2 เมตรด้วย ทั้งๆที่มันเดินด้วยขาหลัง ส่วนความยาวของมันน่าจะยาวประมาณ 7-9 เมตร



ไดโนเสาร์กินพืช


แบรคิโอซอรัส (Brachiosaurus) 


กิ้งก่าท่อนแขน เป็นซอโรพอดขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 30 เมตร สูง 13-14 เมตร หนัก 78 ตันหรือเท่ากับช้างแอฟริกา 15 เชือก อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก 200-130 ล้านปีก่อน ขุดค้นพบในอเมริกาเหนือและแอฟริกา เคยเป็นซอโรพอดที่ตัวใหญ่ที่สุดก่อนค้นพบซุปเปอร์ซอรัส อาร์เจนติโนซอรัส และไซโมซอรัส
ลักษณะเด่นของแบรคิโอซอรัสที่ต่างจากซอโรพอดอื่นคือ บริเวณจมูกบนกระหม่อมมีโหนกยื่นขึ้นมาชัดเจนกว่าคามาราซอรัสหรือซอโรพอดอื่น หางสั้นไม่มีปลายแส้ มีขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลัง ทำให้ตัวลาดลงแบบยีราฟ ส่งผลให้ส่วนคอของแบรคิโอซอรัสตั้งชันสูงกว่า ทำให้มันสามารถหาใบไม้บนยอดสูงได้ดีกว่าพวกอื่น และมีประโยชน์ในการมองเห็นไดโนเสาร์กินเนื้อแต่ไกล
แบรคิโอซอรัสป็นที่รู้จักมากจากการปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง "จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์" แต่มีข้อวิพากษ์ถึงท่าทางในภาพยนตร์ที่มันยืน 2 ขาเพื่อยืดตัวกินยอดใบไม้ ด้วยสาเหตุที่ส่วนคอของมันตั้งสูงเหมาะกับการกินอาหารบนยอดไม้อยู่แล้ว ส่วนขาหลัง 2 ข้างของมันยังสั้นและเล็ก และสรีระทางสะโพกก็น้อย นอกจากนี้มันไม่มีท่อนหางยาวสำหรับคานน้ำหนักเหมือนซอโรพอดวงศ์ดิปพลอโดซิเด จึงไม่น่าจะแบกรับน้ำหนักของร่างกายช่วงบนเวลาที่มัน "ยืน" ไหว ดังนั้นภาพที่เห็นมันยืน 2 ขาในหนังก็ไม่น่าจะจริง



พาราซอโรโลฟัส (Parasaurolophus)

เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ ในยุคครีเตเชียสตอนปลายพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น ในอัลเบอร์ต้า คานาดา หรือรัฐยูทาห์ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ลักษณะเด่นของพาราซอโรโลพัส คือ หงอนที่มีลักษณะเหมือนท่อกลวงยาว บางตัวอาจจะมีหงอนยาวถึง 1.5 เมตร มีไว้ส่งเสียงหาพวก สามารถเดินได้ทั้ง 2 เท้าและ 4 เท้า มีขนาดใหญ่โตพอสมควร เท่าที่ค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์นี้จะมีความยาวประมาณ 10 เมตร กินพืชเป็นอาหาร




พลาทีโอซอรัส (Plateosaurus)

เป็นไดโนเสาร์โปรซอโรพอดของยุคไทรแอสซิก ขนาด 7.8 เมตร อยู่กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร พบที่ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เมื่อหน้าแล้งมาถึงมันจะอพยพ มันสามารถเดินได้ทั้ง 4 ขาและ 2 ขา เวลากินอาหารบนต้นไม้จะยืนด้วย 2 ขา แต่เวลาเดินหรือกินอาหารที่อยู่บนพื่นอย่างหญ้า มันก็จะเดิน 4 ขา พบในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย-ยุคจูแรสซิกตอนต้น




แพคิเซอฟาโลซอรัส (Pachycephalosaurus )

เป็นไดโนเสาร์หัวแข็ง หรือแพคิเซอฟาโลซอร์ชนิดหนึ่ง ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีหัวหนาถึง 25 เซนติเมตร ซึ่งน่าจะมีไว้ต่อสู้หรือป้องกันตัว ฟอสซิลของค้นพบที่รัฐไวโอมิง ในปี ค.ศ. 1931 โดยนักล่าฟอสซิลชื่อกิลมอร์ แพคิเซอฟาโลซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 70-65 ล้านปีก่อน มีญาติอย่างพรีโนเซฟาลี และดราโกเร็กซ์ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีหัวหนาถึง 25 เซนติเมตร หรือ 12 นิ้ว ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าน่าจะมีไว้ใช้เพื่อต่อสู้แย่งตัว หรือมีไว้ใช้เพื่อป้องกันตัวจากนักล่าเช่นไทแรนโนซอรัส บ็อบ เบ็กเกอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์บอกว่า กะโหลกของแพคิเซอฟาไม่แข็งพอดที่จะใช้ต่อสู้ แต่ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญเชื่อเขา เนื่องจากสมองของแพคิเซอฟาโลซอรัสและไดโนเสาร์หัวแข็งมีขนาดเล็ก และถ้าสมองเล็กก็หมายถึงสมองจะได้รับการกระทบเทือนน้อยกว่าสมองใหญ่



มาเมนชีซอรัส (Mamenchisaurus)

เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่คอยาวที่สุด ซึ่งเป็นความสูงครึ่งหนึ่งของความสูงทั้งหมด สปีชีส์ส่วนใหญ่อาศัยบนโลกในช่วง 145 - 150 ล้านปีมาแล้ว ในช่วง Tithonian ช่วงปลายของยุคจูแรสซิก



ไมอาซอรา (Maiasaura)

เป็นไดโนเสาร์ปากเป็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อเสียงในการเลี้ยงลูก จัดอยู่ในพวกออร์นิทิสเชียน ในปีค.ศ. 1970 ในรัฐมอนแทนา สหรัฐอเมริกา ได้มีการค้นพบรังของฝูงไมอาซอราพร้อมลูกๆของมัน แต่ละรังห่างกันประมาณ 6 เมตร จึงเป็นหลักฐานว่าไดโนเสาร์ก็เลี้ยงลูกเหมือนกัน ความยาวประมาณ 9 เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 80-75 ล้านปีก่อน ฟอสวิลของมันค้นพบที่ทวีปอเมริกาตั้งแต่ที่สหรัฐอเมริกา ไปจนถึงรัฐอะแลสกา มันเป็นเหยื่อตัวโปรดของเทอโรพอดชื่อแดซพีโตซอรัสญาติของมันคืออิกัวโนดอน และอนาโตไททัน



สเตโกซอรัส (Stegosaurus) 

สเตโกซอรัส (กิ้งก่ามีหลังคา) เป็นไดโนเสาร์กินพืชจำพวกสะโพกนก (Ornithischia) ที่มีเกราะป้องกันตัวจำพวกแรกๆมีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบฉีดเลืดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามันมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่นกระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยังหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัสรูปร่างดูน่ากลัวแต่สมองมันเล็กกว่าถั่วเขียวและหนักไม่ถึง 70 กรัม ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตันอาศัยอยู่ยุคจูแรสซิก 170-130 ล้านปี




สไตราโคซอรัส (Styracosaurus,)

เป็นสกุลของไดโนเสาร์กินพืชในอันดับเซราทอปเซีย มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียส (ช่วงแคมปาเนียน) เมื่อประมาณ 76.5 ถึง 75.0 ล้านปีมาแล้ว มันมีเขา 4-6 อัน ยื่นออกมาจากแผงคอ และยังมีเขาที่มีขนาดเล็กยื่นออกมาบริเวณแก้มแต่ละข้าง และมีเขาเดี่ยวยื่นออกมาบริเวณเหนือจมูก ซึ่งน่าจะมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) และกว้าง 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) ส่วนหน้าที่ของเขาและแผงคอยังไม่มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนมาจนถึงปัจจุบันสไตราโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะค่อนข้างใหญ่ โดยมีความยาวถึง 5.5 เมตร (18 ฟุต) และหนักเกือบ 3 ตัน เมื่อมันยืนจะมีความสูงประมาณ 1.8 เมตร (6 ฟุต) สไตราโคซอรัสมีขาที่สั้น 4 ขาและมีลำตัวที่ใหญ่ มีหางค่อนข้างสั้น มันมีจงอยปากและแก้มแบน บ่งชี้ว่าอาหารของมันคือพืชซึ่งเหมือนกันกับไดโนเสาร์จำพวกเซราทอปเซียสกุลอื่น ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง และเดินทางกันเป็นกลุ่มใหญ่ชื่อของไดโนเสาร์ถูกตั้งโดย ลอว์เรนซ์ แลมเบอ ในปี ค.ศ. 1913 สไตราโคซอรัสเป็นสมาชิกของวงศ์ย่อย Centrosaurinae 2 สปีชี่ส์ ซึ่งได้แก่ S. albertensis และ S. ovatus ในปัจจุบันถูกกำหนดให้อยู่ในสกุลสไตราโคซอรัส




อะแพโทซอรัส (Apatosarus)


หรือชื่อที่คุ้นเคยกันในอดีตว่า บรอนโตซอรัส (Brontosaurus) เป็นไดโนเสาร์ยักษ์ในยุคจูแรสซิก กินพืชเป็นอาหาร เคยมีสมญาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง อาศัยอยู่บนโลกนี้เมือประมาณ 190-135 ล้านปีที่ผ่านมา ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้เมื่อแปลออกมาแล้วจะมีความหมายว่า "กิ้งก่าปลอม"อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพโทซอรัสมีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่าลักษณะที่สำคัญไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความประหลาดมาก คือมีหัวใจ 7-8 ดวงเรียงจากอกถึงลำคอเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น (บางข้อมูลก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน)หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพโทซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมันจะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพโทซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอโผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพโทซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบกที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพโทซอรัสหรือซอโรพอดอื่น ๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลังว่าเป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววิทยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอและปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกได้ขนาดนั้นหรือไม่ภาพพจน์ในอดีตของอะแพโทซอรัสถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตะครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพไทรันโนซอรัสกำลังล่าอะแพโทซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ว่า เหยื่อกับนักล่า 2 พันธุ์นี้มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจากลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่น เช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือหนาม-ตุ้มที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลัง ๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่านักล่าหลายเท่านั้นก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับช้างในปัจจุบันอะแพโทซอรัสมีหางที่ยาวมากเพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพโทซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัสหรือนักล่าอื่น ๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน




อูราโนซอรัส (Ouranosaurus)


ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าผู้กล้าหาญ ตรงกลางที่หลังมีกระดูกที่เหมือนกับหนามโผล่ขึ้นมาเรียงเป็นแถวและมีหนังห่อหุ้มอยู่ เหมือนพวกสไปโนซอริดซ์ แต่กลับเป็นพวกอิกัวโนดอน ครีบนี้มีหน้าที่ปรับอุณภูมิของร่างกาย ขนาด 7 เมตร อยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 110 ล้านปีก่อน พบที่ทวีปแอฟริกาเป็นเหยื่อที่ล่าง่ายๆของสไปโนซอรัสที่ยาว 17 เมตร



อิกัวโนดอน (Iguanodon)


เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพืช มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูแรสซิกและต้นยุคครีเทเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกกิเดียน แมนเทล แพทย์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ค้นพบอิกัวโนดอนเมื่อ พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) นับเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรก ๆ ที่พบ และมีรายงานทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในสามปีต่อมา ที่ตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนเพราะฟันของมันคล้ายกับฟันของอิกัวนา และเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงว่าไดโนเสาร์พัฒนามาจากสัตว์เลื้อยคลานอิกัวโนดอนเป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่และพบกระจัดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตร เมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่าอิกัวโนดอนเคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5 นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรงและชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่าอิกัวโนดอนมักอยู่เป็นฝูง